วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์แจกกระดาษแล้วให้วาดตารางลงไป ให้เราแรเงาภาพเป็นรูปทรงต่างๆ ตารางแรกแรเงาภาพ 3 ช่อง ตารางที่สองแรเงาภาพ 4 ช่อง 


การกิจกรรมให้เด็กต้องสอดคล้องกับการเรียนรู้ มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เนื้อหาการเรียนต้องเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

จากนั้นอาจารย์ก็ให้เราดูวิดิโอProject Approach การเรียนแบบ Project มีการสอน 4 ขั้น
1. ระยะเริ่มต้นโครงการ ให้เด็กได้ร่วมกันคิดว่าเด็กสนใจที่จะเรียนรู้เรื่องใด
2. ระยะวางแผนโครงการ กำหนดว่าจะศึกษาอะไรบ้าง
3. ระยะดำเนินโครงการ การดำเนินงานตามที่วางแผยไว้
4. ระยะสรุปโครงการ เป็นการทบทวนความรู้ที่ได้ศึกษามา

ทักษะ/ระดมความคิด
-ทักษะการคิด
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้
สิ่งที่สอนเด็กควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการเรียนรู้

บรรยากาศในห้อง
ห้องเรียนสะอาด อุปกรณืมีความพร้อม

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ให้เรามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม/การทำกิจกรรม ทำให้เรามีความกระตือรือร้นที่จะเรียน

วิเคราะห์ตนเอง
ตั้งใจเรียน และจดสิ่งที่อาจารย์พูด


วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกเรียนครั้งที่ 4 
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน

การสอนเด็กให้รู้จักวันสอนได้จากการแบ่งกลุ่ม เช่น การแบ่งกลุ่มในการทำเวรในแต่ละวัน การทำปฎิทินวันเกิด เพื่อให้เด็กได้รู้จักเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย การนับ สีในแต่ละวัน การเรียงลำดับ

การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เครื่องมือการเรียนรู้ คือ ประสาทสัมผัส 5 แบบบันทึกการสังเกต
วิธีการเรียนรู้ คือ การลงมือปฎิบัติ การสังเกตุ

  เพื่อนออกมานำเสนอหน้าห้องเรียน


อาจารย์สอนร้องเพลงที่สอนเด็กให้เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ได้






อาจารย์ให้แปลงเพลง บวก-ลบ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม แล้วร้องเพลงทีละกลุ่มในเพลงที่ตัวเองแปลง


และออกไปนำเสนอของเล่นที่สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในแต่ละกลุ่ม

ทักษะ/ระดมความคิด
-ทักษะการทำงานกลุ่ม จากการทำงานแปลงเพลง
-ทักษะการแสดงออก การพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน
-ทักษะการตอบคำถาม
การนำไปประยุกต์ใช้
การสอนเด็กเด็กต้องสอนในเรื่องใกล้ตัวเด็ก และให้เด็กได้ลงมือทำเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรีนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์พร้อมในการเรียน
การจัดการเรียนการสอน
 อาจารย์ถามคำถามให้เราได้คิดวิเคราะห์หาคำตอบ

วิเคราะห์ตนเอง
ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน และช่วยกันกับเพื่อนคิดแปลงเพลงที่อาจารย์ให้ทำ
  



เรียนชดเชย

เรียนชดเชย
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
เวลา 14.30-17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน 

สอนการทำตารางการตื่นของเด็ก เช่น ก่อน 7 โมง เวลา 7 โมง หลัง 7 โมง  การทำตารางสารมารถสอนเกี่ยวกับคณิตศาตร์ได้หลายอย่าง
-เวลา 
-การนับ
-การบอกจำนวน
-การู้ลำดับก่อน/หลัง 
-ตัวเลขฮินดูอารบิก/ตัวเลขไทย

หากเด็กเล็กยังไม่รู้เรื่องเวลา ครูก็แจกสมุดให้เด็กเพื่อเอาไปให้ผู้ปกครองจดว่าเด็กตื่นกี่โมง แล้วให้เด็กวาดรูปนาฬิกาหรือเข็มนาฬิกาลงไป เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วม แต่ผู้ปกครองเป็นคนเขียนตัวหนังสือ

หลักการสอนเด็กปฐมวัยคือ ให้เด็กได้ทำเองเพื่อให้ได้ประสบการณ์ ประสบการณ์จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เนื่องจากการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการลงมือทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

การสอนเด็กสอนตามพัฒนาการของเด็ก เช่น
อายุ 2-3 ปี ครูเขียนให้ดู มีรูปภาพตามจำนวน
อายุ 4-5 ปี บวกจำนวนเลขได้ มีใบตัวเลข
อายุ 5-6 ปี เขียนได้ตามเส้นปะหรือแบบfree hard

พัฒนาการ = สิ่งที่เด็กทำได้

ทักษะ/ระดมความคิด
-ทักษะทางความคิด/วิเคราะห์
-ทักษะการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้
การสอนเด็กสอนสิ่งที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
มีอุปกรณ์พร้อมในการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เช่น คอยถามคำถามให้เราได้คิดหาคำตอบ

วิเคราะห์ตนเอง
ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน และคิดหาคำตอบในสิ่งที่อาจารย์ถาม