สรุปวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน นางสาวทัดดาว ดวงเงา
ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว)
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา โรงเรียนอนุบาลสวนนอย จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย เพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย
ขอบเขตการวิจัย 1.ด้านกลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน โรงเรียนอนุบาลสวนนอย จังหวัดเชียงใหม่
2. ด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยผู้วิจัยได้กำหนดเนื้อหาของกิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย การละเล่นแบบไทยที่นำมาศึกษาคัดเลือกการละลเ่นแบบไทยที่มีลักษณะเกี่ยวกับการนำและจำนวน สามารถเล่นได้เป็นกลุ่มทั้งผู้ช้ายและผู้หญิงที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 กิจกรรม คือ
-เกมรีรีข้าวสาร
-เกมเป่ากบ
-เกมวิ่งผลัดเก็บของ
-เกมกำทาย
-เกมขายของ
-เกมช้อนมะนาว
-เกมซื้อดอกไม้
-เกมบันไดงู
-เกมอีตัก
-เกมขี้ม้าก้านกล้วย
ผลการศึกษา
1. ได้แผนการจัดกิจกรรม การละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย มีความสอดคล้องตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546
2.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ การนับและจำนวน หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
3.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ การรู้ตัวเลขจำนวนคู่และจำนวนคี่ หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
4.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
5.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ องค์ประกอบการบวกจำนวน 10 หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
6 เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ การลบจำนวน 10 หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
7.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ รวมทุกด้าน หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น