วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559
เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ให้เอากระดาษมาแบ่งกันคนละครึ่งและนำไปเขียนชื่อของตนเอง จากนั้นก็นำกระดาษที่ตนเองเขียนมาติดที่กระดานตรงช่องที่เขียนว่ามา ในตารางจะมี ลำดับ มา ไม่มา จำนวนคนทั้งหมด อาจารย์บอกว่าการทำแบบนี้เราจะสามารถสอนให้เด็กได้รู้ถึง จำนวนเต็ม(จำนวนเพื่อนทั้งหมด) การนับ การบวก การลบ ความรู้เลขอารบิก การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า และยังสอนเรีื่องก่อน-หลังได้ คือเด็กคนไหนมาก่อนได้ติดก่อนซึ่งการติดชื่อจะมีเลขลำดับบอก แต่ถ้าเด็กในห้องเยอะให้แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มวงกลม กลุ่มสามเหลี่ยม กลุ่มสี่เหลี่ยม เป็นต้น การแบ่งกลุ่มแบบนี้ก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของเรขาคณิต


จากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนองาน วันนี้เพื่อนนำเสนอ 3 คน อาจารย์บอกเรื่องการแนะนำตัวหน้าห้องให้พูดว่า เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆทุกคน ชื่อ จะนำเสนออะไร ใครเป็นผู้แต่งและนำมาจากที่ไหน เมื่อเพื่อนรายงานจบอาจารย์ก็สอนร้องเพลงที่สอนเรื่องของคณิตศาสตร์ไปในเพลงด้วย








จากนั้นอาจารย์ก็สอนเนื้อหาเด็กปฐมวัยเรียนอะไรในคณิตศาสตร์
ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขอารบิกและเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร เช่น จัดมุมร้านค้าให้เด็กได้รู้จัดการใช้เงิน
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใชเบอกช่วงเวลา

3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง(ชุดตัวอย่างต้องมีตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป)

5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
เช่น ถามว่าเด็กในห้องมีใครชอบผลอะไรระหว่างส้มกับกล้วย และแต่ละผลไม้มีจำนวนเท่าไร และนำจำนวนที่ได้มาทำแผนภูมิอย่างง่าย

6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

ทักษะ/ระดมความคิด

-ทักษะการแก้ปัญหา เช่น อาจารย์ถามว่าถ้าเด็กในห้องเยอะจำทำอย่างไร คำตอบคือการแบ่งกลุ่ม
-ทักษะในการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการตอบคำถาม

การนำไปประยุกต์ใช้

นำตัวอย่างที่อาจารย์สอนไปใช้กับเด็กได้ และการเรียนรู้ของเด็กควรใช้สิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวัน ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  มีการเชื่อมโยงความรู้เดิม และให้เด็กได้ใช้สื่อจริงให้เด็กได้เรียน

บรรยายในห้องเรียน

ตอนแรกไฟดับทำให้ต้องเปิดหน้าตาและผ้าม่าน พอไฟมาก็ได้เปิดแอร์และสื่อเทคโนโลยี

การจัดการเรียนการสอน

อาจารย์มีการเตรียมการสอน มีคำถามให้เราได้คิดและวิเคราะห์ สอนการร้องเพลงและเสริมสร้างคุณธรรม

วิเคราะห์ตนเอง

ตั้งใจเรียนและพยายามคิดตามสิ่งที่อาจารย์สอน





วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
-มาถึงอาจารย์ให้นักศึกษาไป link blog ของเราลงในบล็อคของอาจารย์
-จากนั้นอาจารย์ก็ให้แจกกระดาษโดยส่งแบบ1ต่อ1 อาจารย์บอกว่าการส่งแบบนี้เราสามารถสอนเด็กได้เช่น ถ้ากระดาษไม่พอ แสดงว่า คนมีมากกว่ากระดาษ เราก็ให้เด็กช่วยกันนับได้ว่าขาดอยู่เท่าไร
       ถ้ากระดาษเหลือ แสดงว่า คนมีน้อยกว่ากระดาษ
ทำให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ทางคณิต คือ มากกว่า น้อยกว่า ทุกช่วงเวลาเราสามารถนำมาสอนเด็กได้ เพราะคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
-ทำแผนผังความคิดเกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

ทักษะ/ระดมความคิด
-  อาจารย์ถามว่าทำไมอาจารย์ถึงให้ส่งกระดาษแบบ1ต่อ1
- อาจารย์ให้ช่วยกันตอบตอนที่ทำแผนผังความคิดว่า พัฒนาการคืออะไร การจัดประสบการณ์ของเด็กคืออะไร คณิตศาสตร์คืออะไร เด็กปฐมวัยคืออะไร และอาจารย์จะแยกย่อยแต่ละหัวข้อให้และอาจารย์ก็จะลองถามให้เราได้ยกตัวอย่าง

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศเย็นสบาย เพื่อนๆมาเรียนกันครบทำไมดูสนุกสนานและช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์จะสอนแบบตั้งคำถามให้เราได้คิดตามอยู่ตลอด โดยจะถามคำถามที่เรารู้อยู่แล้วแต่อาจจะลืมๆไปบ้าง ทำให้เราได้ทบทวนความรู้ที่มีอยู่นำมาตอบคำถามอาจารย์ สอนเรื่องการเขียนแผนผังว่าต้องเขียนแบบทวนเข็มนาฬิกา

วิเคราะห์ตนเอง
ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน พยายามคิดตามสิ่งที่อาจารย์ถาม และพยายามที่จะตอบคำถามอาจารย์ ถึงแม้การตอบคำถามจะมีถูกบ้างผิดบ้างแต่ก็ยังพยายามตอบ

สรุป ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์

สรุป ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์
ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 2

      การสอนคณิตของเด็กปฐมวัยจะเน้นที่ความสนุกเป็นหลักเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ โดยจะเรียนรู้ผ่านเกม 
      ใช้แผ่นชาร์ตที่มีตัวเลขชัดเจน มีทั้งรูปภาพบอกจำนวน ตัวเลขไทย ตัวเลขอารบิก มีตัวหนังสือ ให้เด็กเล่นเกมโดยให้เด็กนำไม้หนีบมาหนีบที่แผ่นชาร์ตตามจำนวนตัวเลข เด็กจะได้มองตัวเลขและหยิบไม้หนีบมาหนีบได้ หากเด็กมองตัวเลขแล้วยังไม่รู้ ก็ยังมีรูปภาพที่บอกจำนวนช่วยได้ พอเล่ยเสร็จก็ส่งแผ่นนั้นให้เพื่อนเล่นต่อ การเล่นแบบนี้จะพัฒนาเด็กทั้งสติปัญญา ร่างกาย(กล้ามเนื้อมือ) อารมณ์ สังคม
      อีกกิจกรรมคือ กิจกรรมการปั่นดินน้ำมัน ให้เป็นตัวเลขที่ตนเองชอบหรือตามที่ครูกำหนด
     การสอนเด็กเขียนตัวเลข จะแจกกระดาษแบบไม่มีเส้นให้เด็กก่อนเพื่อให้เด็กได้เขียนอย่างอิสระ ให้เด็กได้รู้ทิศทางการเขียนก่อน เมื่อเด็กเขียนได้ค่อยเอากระดาษแบบมีเส้นมาให้เด็กเขียน โดยที่ยังไม่เน้นความสวยงามเนื่องจากกล้ามเนื้อมือของเด็กยังไม่พัฒนาได้อย่างเต็มที่ 
     การสอนเด็กอนุบาล 2 ในเทอมเเรกอาจจะสอรเลข 1-10 ก่อน พภาคเรียนที่ 2 ค่อยสอนจำนวนตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้น

สรุปวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้เขียน นางสาวทัดดาว ดวงเงา
ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว)
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา โรงเรียนอนุบาลสวนนอย จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย เพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย
ขอบเขตการวิจัย 1.ด้านกลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน โรงเรียนอนุบาลสวนนอย จังหวัดเชียงใหม่
                              2. ด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยผู้วิจัยได้กำหนดเนื้อหาของกิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย การละเล่นแบบไทยที่นำมาศึกษาคัดเลือกการละลเ่นแบบไทยที่มีลักษณะเกี่ยวกับการนำและจำนวน สามารถเล่นได้เป็นกลุ่มทั้งผู้ช้ายและผู้หญิงที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 กิจกรรม คือ
-เกมรีรีข้าวสาร
-เกมเป่ากบ
-เกมวิ่งผลัดเก็บของ
-เกมกำทาย
-เกมขายของ
-เกมช้อนมะนาว
-เกมซื้อดอกไม้
-เกมบันไดงู
-เกมอีตัก
-เกมขี้ม้าก้านกล้วย
ผลการศึกษา
1. ได้แผนการจัดกิจกรรม การละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย มีความสอดคล้องตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546
2.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ การนับและจำนวน หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
3.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ การรู้ตัวเลขจำนวนคู่และจำนวนคี่ หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
4.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
5.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ องค์ประกอบการบวกจำนวน 10 หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
6 เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ การลบจำนวน 10 หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
7.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ รวมทุกด้าน หลังการทดลองใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป บทความ

สรุปบทความ

ปลูกฝังให้ลูกชอบคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการด้านสมอง



เราสามารถปลูกฝังความชอบคณิตศาสตร์ให้เป็นเรื่องสนุกให้กับลูกๆได้ด้วยวิธีง่ายๆ เหล่านี้

เสริมคณิตถ้าคิดจะซื้อ
         หากคุณพ่อคุณแม่มีแผนที่จะซื้อของกับลูก  ลองกำหนดงบประมาณก้อนหนึ่งให้ลูกได้ลองหักลบดู เช่น คุณมีงบ 500 บาท เพื่อให้ลูกเลือกซื้ออะไรก็ได้ในแคตตาลอค วิธีการคือ ให้หนูน้อยวงกลมสิ่งของที่เขาต้องการ หลังจากนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยลูกรวมเงินทั้งหมด ให้อยู่ในงบ 500 บาท หากเกินงบก็ต้องตัดสิ่งของที่อยากได้ออกไป

เล่นกับลูก เล่นกับเลข
         การเล่นกับลูกด้วยกิจกรรมหรือเกมที่มีการนับการคำนวณเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น  คุณอาจชวนลูกเล่นขายของ โดยคุณและลูกเป็นคนตั้งราคา และซื้อขายด้วยเงินกระดาษ อย่าลืมลองสลับตำแหน่งกันด้วย เพื่อที่ลูกจะได้เรียนรู้เรื่องการบวก และการทอนเงิน
                   
เข้าครัวตัวเลข
        สามารถสอนลูกเรื่องการคิดคำนวณได้ หากคุณลองให้ลูกมาเป็นลูกมือช่วยในครัว ใช้ถ้วยตวงแสดงให้ลูกดูว่า 1/4 ถ้วย 4 ครั้ง มีปริมาณเท่ากับ 1 ถ้วย

เวลาน่าคำนวณ
         นาฬิกาก็เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่หยิบมาสอนได้ ไม่เพียงแต่เป็นการสอนทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต แต่คุณยังทำให้ลูกเข้าใจเรื่องการบวกลบ และยังช่วยในเรื่องการคาดคะเนเวลา ปลูกฝังให้ลูกเป็นคนตรงต่อเวลา แต่วิธีนี้จะได้ผลดีกับนาฬิกาที่เป็นเข็ม ทางที่ดีภายในบ้านของคุณควรมีนาฬิกาอย่างน้อย 1 เรือนที่เป็นเข็ม

 นับทีละ 5
         การเพิ่มจำนวนทีละ 5  10 15 ไปจนถึงร้อย เป็นการเพิ่มจำนวนที่ต่อเนื่องและคงที่ จะช่วยลูกพัฒนาทักษะเรื่องความสัมพันธ์ของตัวเลข เวลาไปซื้อของให้ลูกดูป้ายราคา หรือนับของที่เป็นแพ๊คละ 5

ปลูกฝังรักคณิตศาสตร์
         เมื่อใดก็ตามที่ลูกบ่นว่า หนูไม่ชอบเรียนเลข คุณควรหาเหตุผลว่าทำไมลูกจึงรู้สึกเช่นนั้น  เมื่อคุณพบแล้ว อย่าลืมบอกให้ลูกเข้าใจว่าคณิตศาสตร์จำเป็นต่อการใช้ชีวิตอย่างไร ไม่ว่าจะช่วยให้ขนมออกมาอร่อยทุกครั้งที่ทำ เพราะตวงส่วนผสมถูกต้อง หรือไม่ถูกเอาเปรียบจากร้านค้า เพราะบวกลบเงินทอนได้ นอกจากนี้คุณอาจชี้ให้ลูกเห็นถึงอาชีพเท่ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ อย่างวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558


เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ให้เขียนบอกลักษณะเด่นของตนเอง แล้วอาจารย์จะอ่านลักษณะที่เราเขียนไปว่าเป็นลักษณะของนักศึกษาคนไหน
-อาจารย์แจกกระดาษให้ 1 แผ่น โดยบอกว่าให้นำกระดาษแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน
-อาจารย์อธิบายการทำ blog โดยอธิบายถึงสิ่งที่ต้องใส่ลงไปในblogของตน เช่น บทความ แหล่งเรียนรู้ งานวิจัย
-สั่งการบ้าน คืองานที่ต้องเอามานำเสนอหน้าชั้นเรียนในแต่ละสัปดาห์

ทักษะ/การระดมความคิด
เกิดการระดมความคิดการจากทำกิจกรรมการแบ่งกระดาษให้เท่ากัน และรู้จักการแก้ปัญหา