วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 (เรียนชดเชย)
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์สอนเรื่องการเขียนแผน การเขียนส่วนต่างๆของแผน เช่น
บูรณาการทักษะรายวิชา
-ภาษา เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน 
ฟัง เพลง คำคล้องจอง นิทาน คำถาม
พูด แสดงความคิดเห็น ร้องเพลง คำคล้องจอง
อ่าน นิทาน คำคล้องจอง เนื้อเพลง อ่านภาพ ตัวหนังสือ
เขียน เขียนภาพ เขียนชื่อ
-คณิตศาสตร์
จำนวนและการดำเนินการ
การวัด
เรขาคณิต
พีชคณิต
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
ธรรามชาติรอบตัว
-สังคม
วันสำคัญ
-พลศึกษา/สุขศึกษา
กิจกรรมกลางแจ้ง
การดูแลรักษาความสะอาด
-ศิลปะสร้างสรรค์
ฉีก
ตัด/ปะ
งนประดิษฐ์
วาดรูป
เล่นกับสี
ปั้น

และอาจารย์ให้ลองคิดกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวกับหน่วยที่ตนเองเลือก หน่วยของกลุ่มดิฉันคือผลไม้ เลือกงานศิลปะที่สามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้
-งานประดิษฐ์ ประดิษฐ์ตนไม้ และมีผลไม้อยู่บนต้น บูรณาคณิตศาสตร์ คือ ลำดับขั้นตอนในการทำงาน การวางแผนการทำงาน ใช้กระดาษเท่าไร ต้นไม้ความสูงเท่าไร
-งานประดิษฐ์ นำหลอดมาทำเป็นพวงกุญแจผลไม้ บูรณาการคณิตศาสตร์ การวัดขนาดหลอด การเปรียบเทียบขนาด 
-พิมพ์ภาพ นำผลไม้มาผ่าครึ่งและนำไปชุ่มสี บูรณาการคณิตศาสตร์ คือ รูปร่าง รูปทรง ขนาด

และคิดเกมส์การศึกษาที่ใช้กับกิจกรรมในแต่ละกลุ่ม เกมส์ที่เลือก คือการจับคู่ภาพเงา

ประสบการณ์ทำให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กจะทำให้เราสามารถประเมินเด็กได้
เด็กเรียนรู้จากการลงมือกระทำ 

อาจารย์ให้นำนิทานที่แต่งมาดูหน้าชั้นเรียน และเสนอแนะเพิ่มเติม








ทักษะ/ระดมความคิด
-การคิด
-การตอบคำถาม 
-การทำงานกลุ่ม

การประยุกต์ใช้
เรียนรู้ถึงการเขียนแผน เพราะเมื่อเราจัดกิจกรรมให้เด็กเราก็ต้องเขียนแผน เข้าใจถึงการเรียนรู้ของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด อาจารย์มีความเป็นกันเอง สื่อการสอนมีความพร้อม

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ตั้งคำถามให้เราได้คิดหาคำตอบ 

วิเคราะห์ตนเอง
ตั้งใจเรียน ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม



บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559
เวลา 08.30-12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน
การนำเข้าสู่บทเรียนมีหลายวิธี เช่น
-เพลง
-คำคล้อง
-ปริศนาคำทาย
-เกมการศึกษา
-นิทาน
-คำถาม

วันนี้อาจารย์ให้เล่าแต่งนิทาน อาจารย์บอกว่าเนื้อหาที่เหมาะกับการนำด้วยนิทานคือ พวกประโยชน์ โทษ การนำไปใช้ เพราะมันเป็นเรื่องราว สามารถแต่งได้ยาวๆ เนื่องจากมีเนื้อหาที่เยอะ จึงเหมาะกับการแต่งเป็นนิทาน

 การแต่งนิทาน
-วางโครงเรื่อง
-ตัวละคร
-เหตุการณ์/สถานการณ์/ที่ไหน

อาจารย์ให้เราแต่งนิทานเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผลไม้ โดยแต่งให้มีการบูรณาการให้เข้ากับคณิตศาสตร์ด้วย

ทักษะ/ระดมความคิด
-การวิเคราะห์
-การคิดสร้างสรร/จินตนาการ
-การทำงานร่วมกัน
-การแก้ปัญหา

การประยุกต์ใช้
ได้ลองแต่งนิทานที่สอดคล้องกับเรื่องที่จะสอน และแต่งให้มีบูรณาการให้เข้ากับคณิตศาสตร์ เมื่อเราไปสอนเราก็สามารถแต่งนิทานได้ 

บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด เรียบร้อย 

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์เปิดโอกาสให้เราได้แต่งนิทานอย่างอิสระตามความคิดของเรา เมื่อแต่งเสร็จอาจารย์ก็จะมาดู และเสนอแนะเพิ่มเติมทำให้นิทานของเราสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อาจารย์ช่วยคิดเรื่องการออกแบบนิทานคือเรื่องรูปเล่ม

วิเคราะห์ตนเอง
ช่วยเพื่อนแต่งนิทาน สนใจฟังสิ่งที่อาจารย์เสนอแนะเพิ่มเติม




บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559
เวลา 8.30-12.30 น.



เนื้อหาการเรียน

เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
เรขาคณิตใกล้ชิดตัวเรา
จัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับเด็ก ใช้วัสดุใกล้ตัวมาใช้ จับต้อง+ประยุกต์กับชีวิต
1.สร้างแรงจูงใจมาให้เด็ก เช่น การทำขนมต้ม
2.ทบทวนความรู้เดิม
3.เสริมความรู้ใหม่โดยกระบวนการกลุ่ม
4.ใช้ความรู้อย่างไร
เอาหลอดมาต่อเป็นรูปทรง ครูถามว่า หลอดที่นำมาต่อมีกี่มุม กี่ด้าน หาสิ่งของ โดยมีภาพให้เด็กดู

สร้างหนังสือภาพ
หาวิธีการสอนที่ง่ายและเหมาะสมตามวัย ให้เด็กได้เล่น เรียนรู้จากของจริง/ของจำลอง 
เรียนรู้เรื่องไม้ดอก ไม้ประดับ จำแนกสิ่งต่างๆตาม ชนิด สี กลิ่นของดอกไม้ มีการเปรียบเทียบ

อาจารย์ให้ทดลองสอนโดยสอนตามเนื้อหาที่แต่ละกลุ่ม โดยวันนี้สอนเรื่องของวันจันทร์และวันอังคาร
กลุ่มที่ 1 หน่วยผัก
กลุ่มที่ 2 หน่วยผีเสื้อ
กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพหนะ
กลุ่มที่ 5 หน่วยตัวฉัน
โดยการสอนในแต่ละหน่วยต้องมรการบูรณาการให้เข้ากับคณิตศาสตร์ เป็นการสอนตามแผนที่เราเคยวางไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ภาพบรรยากาศการสอน 








ทักษะ/ระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การแก้ปัญหา
-การทำงานร่วมกัน
-การได้ลองปฎิบัติการสอน

การประยุกต์ใใช้
ได้ลองสอน ทำให้รู้จุดบกพร่องในการสอน อาจารย์ก็จะแนะนำและเสนอแนะเพิ่มเติม หน่วยต่างๆที่เพื่อนนำมาเสนอก็เป็นหน่วยที่น่าสนใจและสามารถนำไปสอนได้ในอนาคต

บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด เรียบร้อย

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ให้คำแนะนำการสอน และเสริมในสิ่งที่เราขาด ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วิเคราะตนเอง
ให้ความร่วมมือกับการสอนของเพื่อน ตั้งใจฟังและคิดตามสิ่งที่อาจารย์สอน ถึงแม้การสอนในกลุ่มของดิฉันจะมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่อาจารย์ก็ให้คำแนะนำเพิ่มเติม





วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559
เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

เพื่อนนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

ทาริกา นำเสนอเรื่อง การเรียนรู้คณิตของเด็ก(การนับ)
เรียนเรื่องไข่ไก่ 
ขั้นนำด้วยเพลง แม่ไก่
โดยกิจกรรมที่จัดคือ มีโต๊ะ 5 โต๊ะ มีตะกร้าใส่ไข่
ตะกร้าใบที่ 1 จะใส่ไข่ 1 ใบ
ตะกราใบที่ 2 จะใส่ไข่ 2 ใบ
ตะกร้าใบที่ 3 จะใส่ไข่ 3 ใบ
ตะกราใบที่ 4 จะใส่ไข่ 4 ใบ
ตะกร้าใบที่ 5 จะใส่ไข่ 5 ใบ
ให้เด็กได้นับบอกค่า เรียนรูปทรงไข่ การจัดกิจกรรมมีการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวด้วย คือ
เคลื่อนไหวประกอบเพลง
เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
เคลื่อนไหวตามจินตนาการ
ผู้นำ-ผู้ตาม

พัชรภรณ์ นำเสนอบทความ มีใจความว่า
การสอนจะจัดแบบเรียนปนเล่น กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ
-บัตรคำ เอาบัตรคำมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่าเป็นเลขอะไร
-ใช้สื่อที่มีมิติ ให้เด็กได้ัเห็นของจริง ใช้สิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้สัมผัสกับสื่อ
-นับดินสอ คุณครูให้เด็กช่วยนับดินสอ และครูจะนำดินสอไปให้เด็กให้เด็กได้ทำตาม เป็นการแสดงบทบาทสมมุติ


ส่วนของการเรียน อาจารย์ให้แบ่งเป็นกลุ่มและพูดคุยเรื่องหน่วยที่ตัวเองจะสอน โดยกลุ่มของดิฉันสอนหน่วย ผลไม้ เนื้อหาที่เราจะสอนในแต่ละวัน คือ
วันจันทร์ สอนเรื่อง ชนิดของผลไม้ เช่น ผลเดี่ยว ผลรวม
วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะของผลไม้ เช่นสี รสชาติ ขนาด รูปทรง พื้นผิว
วันพุธ สอนเรื่อง การถนอมอาหาร/การแปรรูป เช่น การตาก การดอง การกวน
วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง ประโยชน์ เช่น การขับถ่าย การประกอบอาหาร สร้างอาชีพ
วันศุกร์ สอนเรื่อง โทษ/ข้อควรระวัง เช่น เมล็ดของผลไม้ การล้างทำความสะอาด

ดิฉันได้สอนวันจันทร์เรื่องที่สอน คือ ชนิดของผลไม้ ตัวอย่างการสอน
ขั้นนำ
ร้องเพลงผลไม้ไทย
ส้มโอ แตงโม แตงไทย มะละกอผลใหญ่ น่ารับประทาน
มังคุด ละมุด ส้มเขียวหวาน น้อยหน่า ลูกตาล ล้วนน่าชื่นใจ
กล้วยหอม กล้วยน้ำวา มะพร้าว พุทธา ชมพู่ ลำไย
มะขวิด มะเฟือง มะไฟ มะม่วง มะปราง ลางสาด ทุเรียน

ขั้นสอน
นำรูปผลไม้หรือผลไม้จริงมาให้เด็กดู สอนเด็กว่าผลเดียวกับผลรวมเป็นอย่างไร

ขั้นสรุป
ให้เด็กตอบว่าผลไม้เแต่ละชนิดที่นำมาให้ดูเป็น ผลเดี่ยวหรือผลรวม

การบูรณาการสอนให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
เรื่องจำนวน ตัวอย่างเช่น
เปรียบเทียบ มากกว่า น้อยกว่า เช่น ผลเดี่ยวมีมากกว่าผลรวม
สอนเด็กให้เป็นรูปธรรมเช่น ถามเด็กว่าผลไม้ผลเดียวกับผลไม้ผลรวมกลุ่มไหนมีจำนวนมากกว่า เราก็จะนำใบภาพมาเรียง โดยหยิบแบบ 1 ต่อ 1 ผลไม้ประเภทไหนหมดก่อนแสดงว่าน้อยกว่า ผลไม้ประเภทไหนที่ยังเหลือแสดงว่ามากกว่า จากนั้นเราก็สามารถนำตัวเลขมากำกับได้ การสอนแบบนี้ เด็กจะได้ นับ บอกจำนวน แทนค่าด้วยตัวเลข การแยก(พื้นฐานการลบ) การรวม(พื้นฐานการบวก) เป็นต้น

ทักษะ/ระดมความคิด

-การคิดวิเคราะห์
-การแก้ปัญหา
-การทำงานร่วมกับผู้อื่น

การประยุกต์ใช้

ได้นำสิ่งที่อาจารย์เสนอแนะเพิ่มเติมไปใช้ในการสอน

บรรยากาศในห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย

การจัดการเรียนการสอน

อาจารย์เปิดอิสระทางความคิด โดยให้เราได้ลองคิดก่อนว่าจะสอนอย่างไร และพูดให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็จะเสนอแนะและเสริมในสิ่งที่ขาดให้

วิเคราห์ตนเอง

คิดหาวิธีการที่จะสอนเด็ก จดในสิ่งที่อาจารย์เพิ่มเติมให้ เมื่อไม่เข้าใจสิ่งที่อาจารย์บอกก็ซักถามและพยายามคิดตามในสิ่งที่อาจารย์เสนอแนะ






บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559
เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม โดยเลือกหน่วยที่จะนำมาสอน โดยแบ่งเรื่องที่จะสอน/เนื้อหาออกเป็น 5 วัน  การสอนต้องมีการบูรณาการให้เข้ากับคณิตศาสตร์โดยกลุ่มของดิฉัน ทำเรื่องผลไม้ เนื้อหาที่กลุ่มของเราจะนำมาสอนคือ
-ชนิด
-ลักษณะ
-การถนอมผลไม้
-ประโยชน์
-โทษ

ทักษะ/ระดมความคิด

-การวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

ได้คิดหน่วยที่จะนำไปสอนเด็ก และได้เลือกหัวข้อที่จะเอาไว้ใช้สอน ได้คิดวิธีการสอนที่จะทำให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์

บรรยากาศในห้องเรียน

ห้องเรียนไม่ค่อยเรียบร้อย เพราะว่าจะมีการย้ายอาคารเรียน

การจัดการเรียนการสอน

อาจารย์เปิดอิสระในการคิดสร้างสรรค์งาน แลค่อยให้คำแนะนำ

วิเคราห์ตนเอง

ตั้งใจเรียน และจดเรื่องที่อาจารย์เสนอแนะเพิ่มเติม





บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559
เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ให้ประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์ จากลังกระดาษ  

อุปกรณ์ที่ใช้ คือ

-คัตเตอร์
-ไม้บรรทัด
-กระดาษลัง
-กาว

ขั้นตอนการทำคือ

อาจารย์ให้ทำงานเป็นคู่โดย อาจารย์จะมีตัวแบบมาให้ดู เราก็แบ่งหน้าที่กับเพื่อนว่าใครจะทำอะไรบ้าง โดยเราต้องนำตัวแบบมาทาบลงในกระดาษลังก่อน แล้วเราก็นำไปตัด 







ทักษะ/ระดมความคิด

-การวางแผนการทำงาน
-การแก้ปัญหาขณะทำงาน

การประยุกต์ใช้

การทำสื่อเราสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้ การทำสื่อเราควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะใช้และการเก็บด้วย เนื่องจากสื่อของคุณครูเยอะเวลาจะผลิตสื่อเราก็ต้องคำนึงถึงการเก็บด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด และหลังจากทำงานเสร็จทุกคนในห้องก็ช่วยกันทำความสะอาด

การจัดการเรียนการสอน

อาจารย์อธิบายเรื่องการผลิตสื่อ

วิเคราะห์ตนเอง

มีการวางแผนก่อนการทำงาน สามารถประดิษฐ์สื่อได้ ให้ความร่วมมือ/ช่วยเหลือเพื่อน






วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559
เวลา 08.30-12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน

เพื่อนนำเสนองานหน้าห้องเกี่ยวกับบทความ  โดยมีเนื้อหาบางส่วนของบทความว่า แนะนำให้ลูกได้รู้จักตัวเลขได้โดยให้ลูกได้นับ1-10 การเขียนตัวเลขมือเปล่า  กิจกรรมที่ทำแล้วได้ความรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เช่น การทายลูกปัดคือให้เด็กได้รู้จำนวน การเพิ่มการลด การนับเลขปากเปล่า การวางเบี้ย ให้เด็กได้ลูกจักตัวเลข การเขียนเลขมือเปล่า แล้วอาจารย์ก็คิดจชต่อยอกว่าถ้าเราไม่ใช้การเขียนมือเปล่าแบบตามอากาศเราจะใช้วิธีอะไร อาจารย์และนักศึกษาก็ช่วยกันึิดหาคำตอบว่า เราให้เด็กได้ลองเขียนด้วยการที่มีพื้นผิวที่แตกต่างกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เช่น การใช้กระดาษทราย สำลี เม็ดถั่ว เป็นต้น 


จากนั้นอาจารย์ก็ให้จับคู่ทำงาน เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนคณิคศาสตร์ อาจารย์บอกว่าเราไม่ควรทำสื่อที่ยึดติดไปเลยเพราะจะทำให้เราใช้ได้แค่อย่างเดียว แต่ถ้าเราใช้สื่อที่สามารถขยับได้จะทำให้เราประยุกต์ได้กับหลายกิจกรรม


















ทักษะ/ระดมความคิด

ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้

การที่เราจะทำสื่อเราต้องวางแผนการทำงานก่อน เพื่อให้เราใช้วัสดุให้คุ้มค่าที่สุด และสื่อที่ทำออกมาต้องสามารถใช้ได้นาน ประยุกต์กับการใช้งานหลายๆอย่าง และจัดเก็บง่าย

บรรยากาศในห้องเรียน

สื่อและอุปกรณืการเรียนมีพร้อมและเพียงพอต่อการใช้งาน

การจัดการเรียนการสอน

อาจารย์ให้เราคิดต่อยอดจากเรื่องที่เพื่อนนำเสนอ ทำให้เราได้ลองคิดหาคำตอบ ให้เราได้ลงมือทำงานจริง

วิเคราะห์ตนเอง

ตอนทำงานคู่อาจมีการวางแผนที่ไม่ดีทำให้ผลงานที่ออกมาใช้วัสดุไม่ค่อยคุ้มค่าเมื่อเทียบกับของเพื่อน ขณะทำงานมีการพูดคุยและลองคิดหาวิธีการทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน