วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559
เวลา 08.30-12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน

เพื่อนนำเสนองานหน้าห้องเกี่ยวกับบทความ  โดยมีเนื้อหาบางส่วนของบทความว่า แนะนำให้ลูกได้รู้จักตัวเลขได้โดยให้ลูกได้นับ1-10 การเขียนตัวเลขมือเปล่า  กิจกรรมที่ทำแล้วได้ความรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เช่น การทายลูกปัดคือให้เด็กได้รู้จำนวน การเพิ่มการลด การนับเลขปากเปล่า การวางเบี้ย ให้เด็กได้ลูกจักตัวเลข การเขียนเลขมือเปล่า แล้วอาจารย์ก็คิดจชต่อยอกว่าถ้าเราไม่ใช้การเขียนมือเปล่าแบบตามอากาศเราจะใช้วิธีอะไร อาจารย์และนักศึกษาก็ช่วยกันึิดหาคำตอบว่า เราให้เด็กได้ลองเขียนด้วยการที่มีพื้นผิวที่แตกต่างกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เช่น การใช้กระดาษทราย สำลี เม็ดถั่ว เป็นต้น 


จากนั้นอาจารย์ก็ให้จับคู่ทำงาน เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนคณิคศาสตร์ อาจารย์บอกว่าเราไม่ควรทำสื่อที่ยึดติดไปเลยเพราะจะทำให้เราใช้ได้แค่อย่างเดียว แต่ถ้าเราใช้สื่อที่สามารถขยับได้จะทำให้เราประยุกต์ได้กับหลายกิจกรรม


















ทักษะ/ระดมความคิด

ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้

การที่เราจะทำสื่อเราต้องวางแผนการทำงานก่อน เพื่อให้เราใช้วัสดุให้คุ้มค่าที่สุด และสื่อที่ทำออกมาต้องสามารถใช้ได้นาน ประยุกต์กับการใช้งานหลายๆอย่าง และจัดเก็บง่าย

บรรยากาศในห้องเรียน

สื่อและอุปกรณืการเรียนมีพร้อมและเพียงพอต่อการใช้งาน

การจัดการเรียนการสอน

อาจารย์ให้เราคิดต่อยอดจากเรื่องที่เพื่อนนำเสนอ ทำให้เราได้ลองคิดหาคำตอบ ให้เราได้ลงมือทำงานจริง

วิเคราะห์ตนเอง

ตอนทำงานคู่อาจมีการวางแผนที่ไม่ดีทำให้ผลงานที่ออกมาใช้วัสดุไม่ค่อยคุ้มค่าเมื่อเทียบกับของเพื่อน ขณะทำงานมีการพูดคุยและลองคิดหาวิธีการทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
การจัดประสบการณ์ให้เด็ก คือครูต้องตั้งปัญหา ให้เด็กได้ลงมือทำและลองแก้ปัญหา ได้ลองสร้างผลงานของตน



เริ่มกิจกรรมด้วยการที่อาจารย์ให้ทำรูป 3 เหลี่ยม โดยมีโจทย์ว่าให้ใช้วัสดุที่มีอยู่ นั่นคือไม้กับดินน้ำมัน เราจะทำออกมาในรูปแบบใดก็ได้ เพื่อสอนให้เรารู้จักวิธีการแก้ปัญหา ครูไม่ควรบังคับเด็กเราต้องทำให้เด็กมีทางเลือก ให้เด็กได้ทำอย่างอิสระ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลองแก้ปัญหา แล้วเด็กจะเกิดจินตนาการ












การเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เกิดจากการลงมือทำเพียงอย่างเดียว แต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากผลงานของเพื่อนได้ เพราะผลงานงานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้เด็กได้สังเกตุและเกิดการเรียนรู้

การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จะทำให้เด็กได้ลองผิดลองถูกในการแก้ปัญหา เพื่อหาทางให้ได้ผลงานชิ้นนั้นออกมา

ให้ประสบการณ์เพื่อกระบวนการทางความคิด ตัวอย่างเช่น เวลาถามเด็กให้ตั้งจำนวนก่อน แล้วให้เด็กดูภาพแล้วให้เด็กได้นับว่ามีเท่าไร ให้เด็กได้ค้นหาคำตอบ หรือ ตั้งตัวเลขให้ดูว่าในรูปมีภาพอะไรแต่ละภาพมีจำนวนเท่าไร


ทักษะ/ระดมความคิด

ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการตอบคำถาม
ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการตั้งคำถาม

การประยุกต์ใช้

ครูไม่ควรไม่บังคับเด็ก ให้เด็กได้มีทางเลือกในการทำงานให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างอิสระตามจินตนาการโดยไม่มีถูกหรือผิด

บรรยากาศในห้องเรียน

มีเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนด้วยทำให้คนเยอะดูครึกครื้น มีโต๊ะเพียงพอสำหรับเด็ก

การจัดการเรียนสอน

อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี ให้เราได้ลงมือทำกิจกรรม และให้เราคิดว่าคำตอบจากคำถามของอาจารย์

วิเคราะห์ตัวเอง

สนุกกับการทำกิจกรรม และคิดหาวิธีที่จะแก้ปัญหาตามที่อาจารย์บอกโจทย์ เช่น ทำรูป3เหลี่ยม เราก็ได้คิดว่าจะทำรูป3 เหลี่ยมออกมาในรูปแบบใด